999arch คาสิโนออนไลน์ เครดิตฟรี สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938 สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41 สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์ ขอเครดิตฟรีหน่อยครับสมัครปุ๊บรับปั๊บไม่ต้องฝาก
ประวัติโรงเรียน | โรงเรียนบ้านลิ้นฟ้า

ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนบ้านลิ้นฟ้า

โรงเรียนบ้านบ้านลิ้นฟ้า  ตั้งอยู่เลขที่ 103 หมู่ที่  2  บ้านลิ้นฟ้า ตำบลลิ้นฟ้า อำเภอยางชุมน้อย  จังหวัดศรีสะเกษ  รหัสไปรษณีย์ 33190  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 โทร 045 – 667056  โทรสาร E-mail. issaranun@hotmail.com  เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1  ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เนื้อที่ 10  ไร่  3  งาน  35  ตารางวา  ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุหมายเลข  ศก.  1316  ในพื้นที่เขตบริการของโรงเรียนประกอบด้วยพื้นที่เขตบริการ  7  หมู่บ้านมีหมู่ที่ 1,2,3,4,10,11  และหมู่ที่ 14

โรงเรียนบ้านลิ้นฟ้าได้จัดตั้งขึ้นครั้งหนึ่งเมื่อตอนขยายการศึกษาทั่วราชอาณาจักรแต่ได้ถูกทางราชการสั่งยุบเมื่อ  พ.ศ.  2475  ต่อจากนั้นมาประมาณ  3  ปี  ทางการจึงได้ตั้งโรงเรียนนี้ขึ้นใหม่เมื่อ  พ.ศ.  2479  ตลอดมาจนถึงปัจจุบันมีประวัติพอสังเขปดังต่อไปนี้

        โรงเรียนบ้านลิ้นฟ้าตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27  กรกฎาคม 2479  ตรงกับวันขึ้น  9  ค่ำ  เดือน  9  ปีชวด  โดย  นายวร  วรงค์  ปลัดอำเภอมีขุนอุทิศบุตรศึกษากร  กรรมการอำเภอมาจัดตั้งโดยอาศัยศาลา              การเปรียญวัดบ้านลิ้นฟ้าเป็นสถานที่เรียน  ซึ่งมีนายคำพันธ์  ฤาชาเป็นครูใหญ่ นายบุญ  สัตนันท์              เป็นครูน้อย  ได้อาศัยศาลาการเปรียญวัดบ้านลิ้นฟ้าเป็นสถานที่เล่าเรียน  ต่อมาทางวัดและชาวบ้านได้รื้อศาลาการเปรียญหลังเก่าลงและได้ปลูกสร้างใหม่  ดังนั้นทางโรงเรียนนักเรียนครูจึงใช้ร่มไม้เป็นสถานที่เรียน  จนกว่าจะสร้างเสร็จ  ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนตามแผนใหม่  และแบบสหศึกษามีการเปิดการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่  1  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  4

        ครั้นเมื่อเดือนตุลาคม  พ.ศ. 2513  ทางคณะกรรมการหมู่บ้านได้ประชุมปรึกษาและมีมติเห็นสมควรที่จะสร้างโรงเรียนนี้เป็นเอกเทศถาวร  เพราะที่ดินของโรงเรียนมีอยู่แล้ว  จึงประชุมชาวบ้านเพื่อขอบริจาคปัจจัยและรวบรวมเงินได้ทั้งสิ้น  จำนวน  12,000   บาท  (หนึ่งหมื่นสองพันบาทถ้วน) และนำไปฝากธนาคารกรุงไทย   ขณะเดียวกันคณะครูก็ได้ยื่นคำขอปลูกสร้างอาคารเอกเทศไปทางราชการ  โดยขอประเภทมีทุนสมทบ  ทางราชการได้อนุมัติงบประมาณมาเพิ่มอีกจำนวน   108,000  บาท (หนึ่งแสนแปดพันบาทถ้วน)  แล้วผู้รับเหมาได้ลงมือก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ในต้นเดือนเมษายน   2515  และเสร็จเรียบร้อยในวันที่  4   กรกฎาคม  2515  และเปิดเป็นสถานที่เรียนตลอดมา  เป็นอาคารเรียนหลังที่  1  แบบ ป.1 ซ.  จำนวน  4  ห้องเรียน

        พ.ศ.   2520   ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณโดยมีชาวบ้านสมทบ  5,000  บาท  (ห้าพันบาทถ้วน)  โดยกรรมการหมู่บ้านได้ช่วยกันหาเงินจำนวนดังกล่าวไปสมทบกับทางราชการเป็นอาคารเรียนแบบ  ศก.01  ขนาด  7  ห้องเรียน   ราคา   250,000  (สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)  สร้างเสร็จเมื่อเดือนเมษายน  พ.ศ.  2520  เป็นอาคารเรียนหลังที่  2  พร้อมนี้ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู  แบบ  ศก.  12  ราคา  80,000  บาท  (แปดหมื่นบาทถ้วน)

โรงเรียนบ้านบ้านลิ้นฟ้า  ตั้งอยู่เลขที่ 103 หมู่ที่  2  บ้านลิ้นฟ้า ตำบลลิ้นฟ้า อำเภอยางชุมน้อย  จังหวัดศรีสะเกษ  รหัสไปรษณีย์ 33190  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 โทร 045 – 667056  โทรสาร E-mail. issaranun@hotmail.com  เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1  ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เนื้อที่ 10  ไร่  3  งาน  35  ตารางวา  ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุหมายเลข  ศก.  1316  ในพื้นที่เขตบริการของโรงเรียนประกอบด้วยพื้นที่เขตบริการ  7  หมู่บ้านมีหมู่ที่ 1,2,3,4,10,11  และหมู่ที่ 14

โรงเรียนบ้านลิ้นฟ้าได้จัดตั้งขึ้นครั้งหนึ่งเมื่อตอนขยายการศึกษาทั่วราชอาณาจักรแต่ได้ถูกทางราชการสั่งยุบเมื่อ  พ.ศ.  2475  ต่อจากนั้นมาประมาณ  3  ปี  ทางการจึงได้ตั้งโรงเรียนนี้ขึ้นใหม่เมื่อ  พ.ศ.  2479  ตลอดมาจนถึงปัจจุบันมีประวัติพอสังเขปดังต่อไปนี้

        โรงเรียนบ้านลิ้นฟ้าตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27  กรกฎาคม 2479  ตรงกับวันขึ้น  9  ค่ำ  เดือน  9  ปีชวด  โดย  นายวร  วรงค์  ปลัดอำเภอมีขุนอุทิศบุตรศึกษากร  กรรมการอำเภอมาจัดตั้งโดยอาศัยศาลา              การเปรียญวัดบ้านลิ้นฟ้าเป็นสถานที่เรียน  ซึ่งมีนายคำพันธ์  ฤาชาเป็นครูใหญ่ นายบุญ  สัตนันท์              เป็นครูน้อย  ได้อาศัยศาลาการเปรียญวัดบ้านลิ้นฟ้าเป็นสถานที่เล่าเรียน  ต่อมาทางวัดและชาวบ้านได้รื้อศาลาการเปรียญหลังเก่าลงและได้ปลูกสร้างใหม่  ดังนั้นทางโรงเรียนนักเรียนครูจึงใช้ร่มไม้เป็นสถานที่เรียน  จนกว่าจะสร้างเสร็จ  ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนตามแผนใหม่  และแบบสหศึกษามีการเปิดการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่  1  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  4

        ครั้นเมื่อเดือนตุลาคม  พ.ศ. 2513  ทางคณะกรรมการหมู่บ้านได้ประชุมปรึกษาและมีมติเห็นสมควรที่จะสร้างโรงเรียนนี้เป็นเอกเทศถาวร  เพราะที่ดินของโรงเรียนมีอยู่แล้ว  จึงประชุมชาวบ้านเพื่อขอบริจาคปัจจัยและรวบรวมเงินได้ทั้งสิ้น  จำนวน  12,000   บาท  (หนึ่งหมื่นสองพันบาทถ้วน) และนำไปฝากธนาคารกรุงไทย   ขณะเดียวกันคณะครูก็ได้ยื่นคำขอปลูกสร้างอาคารเอกเทศไปทางราชการ  โดยขอประเภทมีทุนสมทบ  ทางราชการได้อนุมัติงบประมาณมาเพิ่มอีกจำนวน   108,000  บาท (หนึ่งแสนแปดพันบาทถ้วน)  แล้วผู้รับเหมาได้ลงมือก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ในต้นเดือนเมษายน   2515  และเสร็จเรียบร้อยในวันที่  4   กรกฎาคม  2515  และเปิดเป็นสถานที่เรียนตลอดมา  เป็นอาคารเรียนหลังที่  1  แบบ ป.1 ซ.  จำนวน  4  ห้องเรียน

        พ.ศ.   2520   ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณโดยมีชาวบ้านสมทบ  5,000  บาท  (ห้าพันบาทถ้วน)  โดยกรรมการหมู่บ้านได้ช่วยกันหาเงินจำนวนดังกล่าวไปสมทบกับทางราชการเป็นอาคารเรียนแบบ  ศก.01  ขนาด  7  ห้องเรียน   ราคา   250,000  (สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)  สร้างเสร็จเมื่อเดือนเมษายน  พ.ศ.  2520  เป็นอาคารเรียนหลังที่  2  พร้อมนี้ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู  แบบ  ศก.  12  ราคา  80,000  บาท  (แปดหมื่นบาทถ้วน)

สพป.ศรีสะเกษ เขต 1